วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

1). ข้อมูลและสารสนเทศ
- ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นและมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน

- สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้องแม่นยำและตรงกับความตรงการของผู้ใช้
- ลักษณะของข้อมูลที่ดี 
ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
     - มีความถูกต้องและแม่นยำ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
     - ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สดใหม่ และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้ผู้ใช้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก
     - ความสอดคล้องของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรวางแผนสรุปรวบรวมเป็นหัวข้อตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากที่สุด
- ชนิดและลักษณะของข้อมูล 
ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
     - ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric data) คือ ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ ซึ่งเขียนได้หลายรูปแบบคือ เลขจำนวนเต็ม และ เลขทศนิยม
     - ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (character data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้
- ประเภทของข้อมูล 
เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
     - ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และมีความเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ
     - ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้


2). กระบวนการจัดการสารสนเทศ
- การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล 
     - การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
     - การตรวจสอบข้อมูล เมื่อีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องซึ่งหากพบความผิดพลาดก็จะต้องแก้ไขโดยอาจใช้สายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ

- การประมวลผลข้อมูล 
      - การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บควรจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งานต่อไป
     - การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้ว ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรืออักขระเพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
     - การสรุปผลข้อมูล หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลต่างๆแล้ว ก็ควรสรุปข้อมูลต่างๆเหล่านั้นได้กระชับและได้ใจความสำคัญ เพื่อรอในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

- การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล
     - การเก็บรักษา้ข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
     - การนำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเ้ก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลที่สำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที

- การแสดงผลข้อมูล
     - การสื่อสารและแผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา ผู้ใช้งานก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ
     - การปรับปรุงข้อมูลหลักจากที่ได้เผยแพร่ไปแล้ว ควรมีการติดตามผลตอบกลับ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาแก้ไขให้ทันสมัยตลอดเวลา และควรจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่องานต่อการใช้งาน




3). ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
- ระบบเลขฐานสอง เป็นการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือการสั่งงาน จะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานโดยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลขศูนย์และหนึ่ง โดยแต่ละหลักจะเรียกว่า บิต และเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมาเรียงต่อกันเท่ากับ 1 ไบต์ จะใช้สร้างแทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้


- รหัสแทนข้อมูล 

เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสแทนแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองขึ้น โดยมีรายละเอียดต่างๆดังนี้
     - รหัสแอสกี (american standard code information interchange: ASCII) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์ แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ซึ่งหมายความว่าการแทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน
     - รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 18 บิต เนื่องจากตัวอักษรบางประเภทเป็นตัวอักษรภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต จะแทนรูปแบบตัวอักษารได้เพียง 256 รูปแบบ ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างรหัสใหม่ขึ้นมาแทน โดยแทนตัวอักขระได้ 65536 ตัว และยังใช้แทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย

- การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ จะต้องกำหนดรูปแบบหรือโครงสร้างข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ตรงกัน มีรายละเอียดดังนี้
     - บิต (bit) คือ ตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งในระบบเลขฐานสอง ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
     - ตัวอักขระ (character) คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะต้องใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์
     - เขตข้อมูล (field) คือ ข้อมูลที่เป็นอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
     - ระเบียบข้อมูล (record) คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
     - แฟ้มข้อมูล (file) คือ กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1 ระเบียนขึ้นไป
     - ฐานข้อมูล (database) คือ เป็นที่รวบรวมข้อมูล หลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสััมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน





4). จริยธรรมในการใช้ข้อมูล 
ประเด็นต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ข้อมูล มีดังนี้
     - ความเป็นส่วนตัว (privacy) ก่อนจะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ซึ่งหากข้อมูลถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่เจ้าของข้อมูลได้
     - ความถูกต้อง (accuracy) ก่อนจะเผยแพร่ข้อมูลใดๆควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นเสียก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิด ก็ไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลย ซึ่งทำให้เสียเวลาในการค้นหาใหม่
     - ความเป็นเจ้าของ (property) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผู้ใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน ว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลหรือไม่ ซึ่งหากละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะมีความผิดทางกฏหมาย
     - การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว



                                       ------------------------------------------------------

คำถามประจำบทที่ 2 
- ประเภทของข้อมูลมีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

ตอบ 2 ประเภท ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยี (Technology) - การนำความรู้หรือวิทยาการทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการใช้เครื่องมือ

สารสนเทศ (Information) - ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการการประมวลผลอย่างมีระบบซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ

การสื่อสาร (Communication) - การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
หมายถึงการนำความรู้หรือวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบและก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน




ระบบสารสนเทศ
เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวมจัดเก็บและจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ

1). ฮาร์ดแวร์ (Hardware) - เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ

2). ซอฟต์แวร์ (Software) - เป็รโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
     - ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) : มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นการทำงานต่างๆ
     - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) : เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้

3). ข้อมูล (Data) - ถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ


4). บุคลากร (People) - แบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
     - ผู้พัฒนาจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ตามความต้องการ
     - ผู้ใช้จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการใช้งานของระบบสารสนเทศ
.

5). ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) - ต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มือ เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ


ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1). ด้านการศึกษา - เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ

2). ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล - ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อการบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ

3). ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม - การสื่อสารแบบไร้สายที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว

4). ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - การวิจัยและการทดลองล้วนแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5). ด้านความบันเทิง - ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้ การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่สะดวกและรวดเร็ว



แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวกมากขึ้น

- มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีขนาดกะทัดรัดและราคาถูก
- การวางแผน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนที่โดยคอมพิวเตอร์
- มีช่องทางการดำเนินธุรกิจมากขึ้นเพราะเข้าถึงข้อมูลง่าย สะดวกและรวดเร็ว
- หน่วยงานมีขนาดเล็กลงแต่จะปรับเปลี่ยนลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆ


ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมอาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้

- การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนน้อยลง
- การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่สะดวก ทำให้เกิดช่องทางโจรกรรมมากขึ้น
- เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยทำให้การผลิตของผิดกฏหมายเพิ่มมากขึ้น
- การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านข้อมูลต่างๆบนระบบเครือข่าย ถ้าผู้ส่งไม่ระมัดระวังอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนามากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือขยะอิเล็กทรอนิกส์



อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

- โปรแกรมเมอร์ (Programmer) : ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการ


- นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) : ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศ

- ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) : ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย และดูแลความปลอดภัยระบบเครือข่ายภายในองค์กร

- ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (Webmaster) : ทำหน้าที่ดูแลและคอยควบคุมทิศทางของเว็บไซต์

- เจ้าหน้าที่เทคนิค (Technician) : ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์



วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

My Profile

ชื่อ : นางสาว ชญานิน  หยังดี
ชั้น ม.4/3 เลขที่ 42
ชื่อเล่น : ซีต้า
วันเกิด : 6 ธันวาคม 2540
ที่อยู่ : 1/100 หมู่ 16 ต.บางกระสั้น อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา 13160
อีเมลล์ : zee._.tendy97line@live.com
เบอร์โทรศัพท์ : 0898064654
ความสามารถพิเศษ : เล่นดนตรีไทย (ขิม)
สิ่งที่ชอบ : การ์ตูนแฟร์รี่เทล นิยาย ฟิค ของกิน จุ๊บๆ
สิ่งที่ไม่ชอบ : เลือด เข็ม
ศิลปินที่ชอบ : Justin Bieber, Beast
สีที่ชอบ : สีน้ำตาล สีม่วง
อนาคตอยากเป็น : เภสัชกร